กรดไหลย้อน คืออะไร

กรดไหลย้อน หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนในเมือง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มของผู้สูงอายุ ที่หูรูดเสื่อมสภาพไปตามอายุ ทำให้น้ำย่อยและอาหารในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร จึงเกิดอาการแสบร้อนกลางอก หรือมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่ทานลงไปสู่กระเพาะได้ช้าลง และสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนเช่น ความเครียดจากการทำงาน ความอ้วน การสูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก การรับปรานอาหารที่มีไขมันสูง และยาบางประเภทก็มีส่วนที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้

อาการของกรดไหลย้อน
แสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่
รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกอยู่ที่คอ กลืนลำบาก เจ็บคอ
จุกแน่นหน้าอกเหมือนอาหารไม่ย่อย
มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรืออาจมีฟันผุร่วมด้วย
ไอแห้งๆ กระแอมไอบ่อย มีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร
อาจจะรู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน
บางคนอาจมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ร่วมด้วย

การรักษาอาการกรดไหลย้อน
ในช่วงแรกของการรักษาอาการกรดไหลย้อน แพทย์ตะแนะนำให้ทานยาต้านกรดไหลย้อนหรือยาลดกรด (Antacids) ร่วมกับยาลดการสร้างกรดกลุ่มต้านเอช 2 (H2 antagonist) เช่น รานิทิดีน (Ranitidine) ครั้งละ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง หรือรับประทานครั้งเดียวในขนาด 300 มิลลิกรัม หลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน นาน 2 สัปดาห์ ถ้าอาการดีขึ้นให้รับประทานต่อเนื่องกันจนครบ 8 สัปดาห์ ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับการรักษาโดยทันที

หากใครที่กำลังมองหาแผนประกันสุขภาพสำหรับความคุ้มครองในโรคภัยไข้เจ็บได้แทบทุกประเภท ไม่เว้นแม้แต่ กรดไหลย้อน เราขอแนะนำ ฟินชัวรันส์ แผนประกันสุขภาพจาก KWI ที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพ โรคร้ายแรง รวมถึงโควิด 19 สูงสุดถึง 10 ล้านบาทต่อปี พร้อมสิทธิ์รักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง สูงสุดถึง 50,000 บาทต่อปี