กว่าจะมาเป็นนักกายภาพบำบัดได้ ต้องมีประสบการณ์ด้านไหนมาบ้าง

สำหรับสายงานทางด้านกายภาพบำบัดแน่นอนว่ากำลังเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยทุกคนรู้กันหรือไม่ว่า กว่าจะมาเป็นนักกายภาพบำบัดได้จะต้องผ่านอะไรมาบ้าง และจำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้านไหนบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาชีพนักกายภาพบำบัดกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่อยากมีความฝันหรืออยากที่จะเป็นนักกายภาพบำบัดได้เข้าใจมากขึ้น

 

นักกายภาพบำบัดคือใคร

 

นักกายกายภาพบำบัด หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด คือ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติเรื่องการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ความเสื่อม หรือเป็นมาแต่กำเนิด ด้วยการตรวจประเมินและวินิจฉัยทางกายภาพบำบัด ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การรักษาฟื้นฟูโดยไม่ใช้ยา และมองถึงตำแหน่งของโรค(พยาธิสภาพ) ควบคู่กับหลักการเคลื่อนไหวพื้นฐานของมนุษย์

 

แนวทางการศึกษาของนักกายภาพบำบัด

 

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า จึงสมัครสอบเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด) หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิปริญญาตรี

ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของเอกชนจะต้องสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ สาขากายภาพบำบัดก่อนจึงจะปฏิบัติงานได้

 

ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักกายภาพบำบัด

 

  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้คนได้ เพราะงานกายภาพบำบัดจำเป็นต้องพบเจอกับผู้คนแปลกหน้ามากมายทั้งคนไข้ เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงเพื่อนร่วมอาชีพ
     
  • มีความเห็นอกเห็นใจ เอื้ออาทร ยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ใจเย็น เป็นมิตร สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
     
  • มีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ชอบการทำงานที่ได้ไม่หยุดอยู่กับที่ และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะนักกายภาพบำบัดต้องใช้แรงกายในการทำการรักษาคนไข้เช่นกัน
     
  • มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต เพราะคุณสมบัตินี้จะทำให้นักภายภาพบำบัดสามารถวินิจฉัยอาการได้อย่างรอบคอบแม่นยำ
     
  • ทักษะความชำนาญในการใช้มือทั้งสองข้างได้ดีในการบำบัดรักษด้านกายภาพ เพราะการรักษาเบื้องต้นคือการกด บีบ นวด เพื่อ ความรู้เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์
     
  • ทักษะด้านการพูดคุยสื่อสาร วิเคราะห์ จับประเด็น จิตวิทยา การรับมือกับผู้คน
     
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา รู้จักการยืดหยุ่น พลิกแพลง วิธีการทำการรักษา เพื่อให้เหมาะสมกับคนไข้
     
  • ทักษะการจัดการเวลา เพราะในแต่ละวัน นักกายภาพบำบัดต้องเจอกับคนไข้หลายราย ที่มีอาการต่างกัน รวมไปถึงระยะเวลาในการรักษาที่มีความแตกต่างด้วยเช่นเดียวกัน